กลาโหม เผย “ฝ่ายมั่นคง” จับกุมลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายได้มากขึ้น กว่า 3 หมื่นราย
กลาโหม เผย “ฝ่ายมั่นคง” จับกุมลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายได้มากขึ้น กว่า 30,000 ราย หลังสถานการณ์แพร่ระบาดรุนแรงในประเทศเพื่อนบ้าน
พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า หลัง ปรากฎการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID – 19 ทั้งในไทย และประเทศเพื่อนบ้านที่ผ่านมา ฝ่ายความมั่นคงได้สนธิกำลัง กันเฝ้าระวังและสกัดกั้นการลักลอบเข้าเมืองทั้งพื้นที่ชายแดน และพื้นที่ชั้นใน สามารถจับกุมผู้หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย ได้ 32,423 ราย และทำลายเครือข่ายผู้นำพา 282 ราย. ( 1 ก.ค.63 – 30 พ.ค.64 )
ผลการจับกุมที่พบมาก เป็นชาวเมียนมา ถึง 15,393 ราย ชาวกัมพูชา 11,011 ราย ลาว 2,661 ราย มาเลเซีย 92 ราย รวม ทั้งคนไทย 1,945 คน ตั้งแต่ต้นปี 64 สามารถจับกุมได้ถึง 18,649 คน โดยมี เอเย่นต์รับความต้องการจากสถาน ประกอบการ ติดต่อผู้นำพา พาข้าม ชายแดนเข้ามาในพื้นที่ชั้นใน ส่งต่อไปยังสถานประกอบการทางธุรกิจซึ่งยังมี ความต้องการแรงงานราคาถูกโดยไม่ ผ่านการคัดกรองทหารตำรวจ ตรึงชายแดน. เฝ้าระวังทั้งคนและโรคพื้นที่ชายแดน กองกำลังป้องกัน ชายแดน ทั้ง 8 กองกำลังได้จัดกำลัง 5 กองร้อยเพิ่มเติมในพื้นที่ชายแดนทาง เหนือและทางใต้ โดยจัดเป็นชุดลาด ตระเวนขนาดเล็ก เพิ่มการลาดตระเวน และเฝ้าตรวจ โดยเฉพาะช่องทาง/ท่าข้ามธรรมชาติ ร่วมกับ การวางเครื่องกีดขวาง และการใช้เครื่องมือพิเศษ เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการเฝ้าตรวจ เช่น กล้องตรวจการณ์เวลา กลางคืน และใช้อากาศยานไร้คนขับ หรือ UAV ในพื้นที่ที่ไม่ สามารถวางกำลังหรือเข้าถึง ร่วมกับการใช้ชุมชนเข้มแข็ง ชายแดนช่วยชี้เบาะแสและแจ้งข่าวสารแก่เจ้าหน้าที่ นอกจาก นั้นยังจัดกำลังอีก 3 กองร้อย พร้อมปฏิบัติการ. โดยพื้นที่ที่ เป็นเส้นทางจากชายแดนเข้าสู่ตอนใน ได้สนธิกำลัง ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครองท้องที่ร่วมจัดตั้งจุดตรวจ/จุดสกัด จัด ชุดสายตรวจตามเส้นทางต่างๆ
สำหรับพื้นที่ตอนใน จะใช้กำลังเจ้าหน้าที่ ตำรวจเป็นหลัก ร่วมกับกำลังทหาร จัดตั้งจุด ตรวจ/จุดสกัดร่วม 1,686 จุด และจัดชุดลาด ตระเวน 1,815 ชุดลาดตระเวนพื้นที่เสี่ยงและ พื้นที่ล่อแหลม ในการกวดขัน สืบสวน สอบสวน จับกุมกลุ่มผู้กระทำผิด ผู้ลักลอบเข้าเมืองและ ผู้นำพา โดยจะดำเนินการทางคดีและ ขบวนการทางกฎหมายอย่างเข้มข้นเด็ดขาด ทั้งนี้ การดำเนินการกวดขันเฝ้า ระวังชายแดน ยังคงต้องคุมเข้มดำเนินการภาย ใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค เพื่อคัดกรองควบคุมไม่ให้มีโรคระบาด