“สปสช.” เปิด 10 อันดับหน่วยบริการให้บริการโควิด-19 สูงสุด ร่วมดูแล-รักษาประชาชนช่วงวิกฤต
นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สปสช.ได้รับมอบภารกิจสำคัญจากรัฐบาล คือการเตรียมพร้อมงบประมาณและจัดสรรเงินเพื่อดูแลประชาชนให้เข้าถึงบริการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 ทั้งการบริการคัดกรอง การป้องกัน และการรักษาพยาบาล ซึ่งในปีงบประมาณ 2564 สปสช. รับจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมจาก พ.ร.ก.กู้เงิน โควิด-19 จำนวน 4 รอบ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 30,348.35 ล้านบาท
ทั้งนี้ ด้วยสถานการณ์โรคโควิด-19 ที่แพร่กระจายเป็นวงกว้าง ทำให้มีผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนส่งผลต่อการเข้าถึงบริการ โดยในช่วงเวลาดังกล่าวหน่วยบริการหลายแห่ง ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะในพื้นที่แพร่ระบาดต่างเร่งระดมความร่วมมือ ทำให้ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโควิด-19 นับล้านราย ได้รับการดูแลและรักษาพยาบาล โดยในปีงบประมาณ 2564 มีหน่วยบริการที่ร่วมให้บริการกรณีโควิด-19 ที่มียอดการเบิกจ่ายค่าบริการกรณีโควิด-19 สูดสุด 10 อันดับแรก ดังนี้
1.รพ.มหาราชนครราชสีมา รวมเป็นจำนวนเงิน 910,267,725 บาท 2.รพ.สมุทรปราการ 807,853,029 บาท 3.สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง 791,352,806 บาท 4.รพ.ชลบุรี 746,895,589 บาท 5.รพ.สมุทรสาคร 583,629,286 บาท 6.รพ.เกษมราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์ 547,431,303 บาท 7.สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี 544,371,936 บาท 8.รพ.เวิลด์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ 540,798,934 บาท 9.รพ.มงกุฏวัฒนะ 501,915,299 บาท และ 10.รพ.จุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย 492,655,396 บาท
เมื่อแยกข้อมูลประเภทบริการ หน่วยบริการที่ให้บริการคัดกรองเชื้อโควิด-19 ที่มียอดเบิกจ่ายสูงสุด 10 อันดับแรก ดังนี้ 1.สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง 789,512,006 บาท 2.สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี 544,247,036 บาท 3.รพ.สมุทรปราการ 478,422,661 บาท 4.รพ.มหาราชนครราชสีมา 403,434,481 บาท 5.รพ.ชลบุรี 379,960,074 บาท 6.รพ.ระยอง 348,046,220 บาท 7.คลินิกเทคนิคการแพทย์วิประกษิต 338,696,820 บาท 8.รพ.บางละมุง 329,408,592 บาท 9.สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข 316,493,985 บาท และ 10.รพ.เกษมราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์ 316,159,220 บาท
หน่วยบริการที่ให้บริการรักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโควิด-19 ที่มียอดเบิกจ่ายสูงสุด 10 อันดับแรก ดังนี้ 1.รพ.มหาราชนครราชสีมา 494,608,364.49 บาท 2.รพ.ชลบุรี 354,748,172 บาท 3.รพ.มงกุฏวัฒนะ 354,018,099 บาท 4.รพ.สมุทรปราการ 317,229,169 บาท 5.รพ.จุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย 315,761,431 บาท 6.รพ.สมุทรสาคร 315,106,772 บาท 7.รพ.เลิดสิน 262,654,973 บาท 8.รพ.พระนั่งเกล้า 230,003,949 บาท 9.รพ.ปัตตานี 223,189,459 บาท และ 10.รพ.สวรรค์ประชารักษ์ 211,038,071 บาท
หน่วยบริการที่ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่บ้าน (Home Isolation : HI) ที่มียอดการเบิกจ่ายสูงสุด 10 อันดับแรก ดังนี้ 1.พริบตาแทนเจอรีนสหคลินิก 19,450,800 บาท 2.สถานีกาชาดที่ 11 วิเศษนิยม 19,306,400 บาท 3.รพ.กระทุ่มแบน 11,751,420 บาท 4.รพ.นครปฐม 10,963,730 บาท 5.รพ.ท่าสองยาง 8,145,710 บาท 6.รพ.บางละมุง 7,083,830 บาท 7.รพ.ศิริราช 7,031,780 บาท 8.รพ.ราชพิพัฒน์ 6,768,568 บาท 9.รพ.บ้านโป่ง 6,559,347 บาท และ 10.รพ.สิชล 6,327,000 บาท
หน่วยบริการที่ให้บริการวิกฤตฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19 ที่มียอดการเบิกจ่ายสูงสุด 10 อันดับแรก ดังนี้ 1.รพ.ธนบุรี บำรุงเมือง 459,154,251 บาท 2.รพ.ปิยะเวท 331,784,171 บาท 3.รพ.เวิลด์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ 287,014,673 บาท 4.รพ.วิภาราม 262,079,633 บาท 5.รพ.เกษมราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์ 230,569,923 บาท 6.รพ.จุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ 204,782,237 บาท 7.รพ.วิภาวดี 193,972,990 บาท 8.รพ.จุฬารัตน์ 9 จำนวน 159,701,790 บาท 9.รพ.เกษมราษฎร์ประชาชื่น 159,222,223 บาท และ 10.รพ.เกษมราษฎร์ บางแค 143,877,606 บาท
นอกจากนี้ ยังมีหน่วยบริการที่ร่วมให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ตามนโยบายรัฐบาล ที่มียอดการเบิกจ่ายสูงสุด 10 อันดับแรก ดังนี้ 1.สถาบันโรคผิวหนัง 58,790,280 บาท 2.รพ.ปิยะเวท 25,253,200 บาท 3.สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร 23,812,880 บาท 4.รพ.แพทย์รังสิต 20,299,920 บาท 5.รพ.บุรีรัมย์ 20,293,440 บาท 6.รพ.จุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ 18,919,880 บาท 7.รพ.จุฬา 18,173,280 บาท 8.รพ.สมุทรสาคร 12,620,800 บาท 9.รพ.บางปะกอก 8 จำนวน 12,206,280 บาท และ 10.รพ.รามาธิบดี 11,895,440 บาท
นพ.จเด็จกล่าวว่า จากการติดชื้อโควิด-19 ที่แพร่กระจาย ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มมากขึ้น รวมถึงค่าใช้จ่ายดูแลและรักษาพยาบาลที่สูงขึ้นตาม ทำให้ปีงบประมาณ 2564 มียอดการเบิกจ่ายค่าบริการกรณีโควิด-19 สูงถึงจำนวน 50,180.41 ล้านบาท ซึ่งเกินจากงบประมาณที่จัดเตรียมรองรับถึงจำนวน 20,829.23 ล้านบาท ขณะนี้ สปสช.อยู่ระหว่างของบประมาณเพิ่มเติมภายใต้ พ.ร.ก.กู้เงินฯ เพื่อนำมาจ่ายชดเชยค่าบริการที่ยังคงค้างแล้ว ทั้งนี้ สปสช.ต้องขอขอบคุณทุกหน่วยบริการที่ได้รวมกันดูแลประชาชนในช่วงสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมา จนทำให้ประเทศไทยเดินหน้าต่อไปได้
ทั้งนี้ สปสช.ได้นำข้อมูลรายรับค่าบริการโรคโควิด-19 ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2564 ที่แต่ละหน่วยบริการได้รับ ทั้งคัดกรอง, รักษา, ฉีดวัคซีน, การดูแลผู้ติดเชื้อโควิดที่บ้านและที่ชุมชน (HI-CI) และ UCEP หรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติเฉพาะสิทธิ UC หรือสิทธิบัตรทอง เผยแพร่ทางเว็บไซต์ สปสช.แล้ว สามารถเข้าดูได้ที่ www.nhso.go.th.